สุนัขที่ตั้งท้อง มีความต้องการทางโภชนาการที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเค้าควรต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ในช่วงต้นของการตั้งท้อง สุนัขอาจเบื่ออาหารชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และสุนัขจะกลับมาอยากอาหารอีกครั้งเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องดูแลลูกๆ ที่กำลังมีพัฒนาการ ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องเปลี่ยนตารางเวลาการให้อาหารเพื่อให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนตารางเวลา อาจเป็นอันตรายต่อแม่สุนัขและลูกๆ เนื่องจากแม่สุนัขจะไม่ได้รับโภชนาการที่เหมาะสมหรือสอดคล้องซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น คลอดยาก ดังนั้น เราควรให้อาหารตามตารางเวลาปกติอย่างเคร่งครัดแทน พร้อมการเปลี่ยนแปลงที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นในเรื่องของอาหาร
หลักในการให้อาหาร
– สุนัขที่ตั้งท้องควรได้รับพลังงาน 1,600 kcal และควรมีโปรตีนอย่างน้อย 22% เว้นแต่ว่าสุนัขที่ตั้งท้อง มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักมากเกินไป
– ในช่วง 6 หรือ 7 สัปดาห์แรก สุนัขที่ตั้งท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลานั้น ควรเพิ่มปริมาณอาหาร 25%จากปกติ
– หากสุนัขที่ตั้งท้องมีแนวโน้มว่าน้ำหนักลดลง ให้เปลี่ยนเป็นอาหารเปียกกินควบคู่ไปกับอาหารเม็ด หรือเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
– เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เนื่องจากในช่วงระหว่างตั้งท้อง จะทำให้มดลูกขยายตัวดันพื้นที่ลำไส้ใหญ่ มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาท้องผูกได้
ข้อควรระวัง
– ไม่ควรให้สุนัขที่ตั้งท้องกินอาหารเสริมใดๆ เนื่องจากอาหารเสริมบางชนิด เช่น แคลเซียม อาจรบกวนสมดุลวิตามินและแร่ธาตุของร่างกายในช่วงตั้งท้อง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพได้
– ช่วงที่แม่สุนัขตั้งท้อง ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 25-30% ของน้ำหนักเดิม วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุม คือ หมั่นชั่งน้ำหนักของแม่สุนัขทุกสัปดาห์ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์และปรับสัดส่วนของอาหารเพื่อให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว