ในชีวิตประจำวัน เรายังต้องมีการจัดตารางเวลาเพื่อวางแผนชีวิตในแต่ละวัน สุนัขก็จำเป็นต้องมีตารางเวลาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องการให้อาหาร แล้วแต่ละวันเราต้องให้มากน้อยขนาดไหน หรือ ให้บ่อยแค่ไหน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันค่ะ
การให้อาหารสุนัข
ตารางการให้อาหารสุนัข ไม่ใช่ปฏิทิน หรือ ตารางอะไรที่ยุ่งยากเหมือนกับของที่เราทำเลย แต่เป็นเพียงแค่เวลาประจำที่เราให้อาหารสุนัขเท่านั้นเอง
การให้อาหารสุนัขในเวลาเดิม หรือใกล้เคียงกัน จะช่วยให้ระบบการย่อยของสุนัขเป็นปกติ และช่วยลดความต้องการของสุนัขที่อยากออกไปข้างนอกได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้สุนัขเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ หรือ เวลาไหนที่เราจะอยู่บ้าน ซึ่งทำให้สามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติแหตุกับสุนัขได้อีกด้วย
ปริมาณการให้อาหารสุนัขต่อวัน
ก่อนที่เราจะกำหนดปริมาณการให้อาหารกับสุนัข เราต้องรู้ว่าสุนัขของเราควรกินอาหารบ่อยแค่ไหน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดและอายุของสุนัข ชนิดของอาหาร ระดับของกิจกรรม และ สุขภาพทั่วๆไป
ลูกสุนัข
เนื่องจากลูกสุนัขเจริญเติมโตได้ค่อนข้างเร็ว พวกเค้าจำเป็นต้องกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและต้องกินบ่อยๆ เพราะลูกสุนัขจะเผาผลาญพลังงานได้ค่อนข้างมาก เราจึงต้องเริ่มให้พวกเขากินอาหารบ่อยๆ หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดความถี่ในการให้อาหารลง
– ช่วง 3-6 เดือน สามารถลดการให้อาหารลงเป็นวันละ 3 ครั้ง ในช่วงระยะนี้เราจะได้เริ่มเห็นการเจริญเติบโต และ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของลูกสุนัข
– ช่วง 6-12 เดือน สามารถลดการให้อาหารลงเป็นวันละ 2 ครั้ง และยิ่งในวัยนี้เป็นวัยที่สามารถทำหมันได้แล้ว ระดับพลังงานของสุนัขอาจลดลง เป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นสูตรสำหรับสุนัขโต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของสุนัขเช่นกัน ดังนั้น ก่อนเปลี่ยนสูตรอาหาร แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เราควรให้ลูกสุนัขเพื่อช่วยให้เขาเติบโตอย่างแข็งแรงและสมวัยค่ะ
สุนัขโต
เมื่อสุนัขโตเต็มวัยแล้ว ประเภทและปริมาณการให้อาหารสุนัขควรได้รับการปรับให้เหมาะสมกับสายพันธุ์ ขนาด และ กิจกรรมในแต่ละวันของเค้า
– อายุ 1-7 ปี เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่ให้อาหารสุนัขโตวันละ 2 มื้อครึ่ง โดยใช้วิธีตวงอาหารดีกว่าการกะวัดด้วยสายตา เพื่อให้แน่ใจว่าสุนัขของเราได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน หมั่นสังเกตว่าสุนัขของเราน้ำหนักขึ้นหรือไม่ และลดปริมาณการให้อาหารหากจำเป็นภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์
– อายุ 7 ปีขึ้นไป สุนัขในวัยนี้จะเริ่มเคลื่อนไหวได้ช้าลง ซึ่งรวมถึงระบบเผาผลาญพลังงานก็ลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราควรเลือกอาหารที่ช่วยบำรุงการทำงานของสมอง เพิ่มพลังงาน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และดูแลระบบย่อยอาหาร ให้เค้ากลับมาแข็งแรงเหมือนวัยเด็กอีกครั้ง
สุนัขสูงวัย
สุนัขสายพันธุ์ใหญ่อาจเข้าสู่วัยชราเร็วกว่าสุนัขสายพันธุ์เล็ก ดังนั้นเราจำเป็นต้องปรึกษาสัตวแพทย์ว่าสุนัขของเราเข้าสู่วัยทองแล้วหรือไม่
การที่สุนัขของเราได้กินอาหารที่ดี มีคุณภาพสูงในปริมาณที่เหมาะสมในทุกช่วงอายุ และ ได้กินอาหารตรงเวลา จะทำให้เค้ามีสุขภาพดี ปริมาณการกินของสุนัขแต่ละตัวนั้นแตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกับเรา ดังนั้นการปรึกษาสัตว์แพทย์จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ